ปาฏิหาริย์แห่ง การให้อภัย

ปาฏิหาริย์แห่ง การให้อภัย

สมัยข้าพเจ้าเป็นเด็ก คุณพ่อข้าพเจ้ามีเรื่องบาดหมางกับพี่ชาย ด้วยความขุ่นเคือง คุณพ่อจึงเลิกติดต่อและห้ามเราไปเยี่ยมพี่ชายของท่านอีกด้วย จนเมื่อมารดาข้าพเจ้าป่วยหนักและใกล้สิ้นใจอยู่บนเตียง คุณพ่อจึงยอมให้พี่ชายของท่านกับภรรยามาเยี่ยมเราอีกครั้งในที่สุด

สมัยมัธยมต้น ข้าพเจ้ามีเรื่องบาดหมางกับเพื่อนสนิทข้างบ้าน ข้าพเจ้าเลิกคุยกับเขาและตีตนออกห่างเพื่อเป็นการ “ลงโทษ” เขา ต่อมา สมาชิกศาสนจักรคนหนึ่งพาเขามาที่โบสถ์ ข้าพเจ้าเห็นเขาแต่ก็ปฏิเสธไม่ยอมคุยกับเขาเพื่อข้าพเจ้าจะ“ลงโทษ” เขาต่อไปได้ จนทุกวันนี้ ข้าพเจ้ายังคงรู้สึกแย่กับพฤติกรรมของตนเอง โอ้ ข้าพเจ้าหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะมีโอกาสพบเขาและบอกเขาว่าข้าพเจ้าขอโทษ! 


พระเจ้าตรัสว่า “คนที่ไม่ให้อภัยความผิดแก่พี่น้องตนย่อมอยู่ในสภาพที่ถูกกล่าวโทษต่อพระพักตร์พระเจ้า; เพราะบาปที่ร้ายแรงกว่ายังคงอยู่กับเขา”1 ข้าพเจ้าไม่อาจเข้าใจข้อนี้ได้เมื่อเป็นเด็ก ข้าพเจ้านึกไม่ออกว่าทำไมการที่ข้าพเจ้าตกเป็นเหยื่อ บาปข้าพเจ้าจึงร้ายแรงกว่าผู้ที่กระทำผิดหากข้าพเจ้าไม่ให้อภัยเขา เรื่องนี้จะยุติธรรมได้อย่างไร เวลานั้นข้าพเจ้าไม่เข้าใจเลยจริง ๆ! เมื่อข้าพเจ้าโตขึ้น มีประสบการณ์มากขึ้น และพยายามใคร่ครวญพระคัมภีร์ข้อนี้อย่างมาก ในที่สุด ข้าพเจ้าก็ “เข้าใจ!” นี่เป็นเพราะพระผู้เป็นเจ้าทรงรักเรามาก! โดยธรรมชาติ ความขุ่นเคืองเป็นสิ่งที่เจ็บปวดอยู่แล้ว แต่หากเราไม่ให้อภัยคนเหล่านั้นที่ทำให้เราขุ่นเคือง เราจะเจ็บปวด แม้ลึกกว่าและยาวนานยิ่งกว่า พระบิดาบนสวรรค์ผู้ทรงเปี่ยมด้วยความรักทรงต้องการให้เราฝากความยุติธรรมไว้กับพระองค์ “เรา, พระเจ้า, จะให้อภัยผู้ที่เราจะให้อภัย,” แต่ทรงเรียกร้องจากเรา “ที่จะให้อภัยมนุษย์ทั้งปวง”2 โดยการทำาเช่นนี้ เราจะไม่ทนทุกข์กับความเจ็บช้ำซ้ำเติมโดยทำให้จิตวิญญาณของเราเองเจ็บปวด


สตรีผู้ชาญฉลาดคนหนึ่งเข้าใจหลักธรรมนี้ เธอกล่าวว่า “เมื่อคุณให้อภัยผู้อื่น ย่อมเท่ากับว่าคุณกำลังมีเมตตาต่อตนเอง” ประธานบริคัม ยังก์สอนโดยการให้ตัวอย่างถึงเรื่องนี้เช่นกัน เมื่อคนถูกงูพิษกัด ปฏิกิริยาทั่วไปคือการรีบหาไม้มาตีงูให้ตาย ขณะสิ่งถูกต้องที่พึงทำคือไปโรงพยาบาลทันทีเพื่อขอความช่วยเหลือให้รอดชีวิต3 กล่าวอีกนัยหนึ่ง เมื่อมีคนทำให้เราขุ่นเคือง (โดนงูกัด) การเลือกที่จะให้อภัย (รับการถ่ายเลือดด้วยเซรุ่มเลือด) เป็นสิ่งสำคัญและเร่งด่วนกว่าการหาทางแก้แค้น

ข้าพเจ้าสำนึกคุณที่มีโอกาสอ่านหนังสือของประธานสเป็นเซอร์ ดับเบิลยู. คิมบัลล์ ปาฏิหาริย์แห่งการให้อภัย สมัยเป็นเด็ก จากหนังสือเล่มนี้ ข้าพเจ้าเรียนรู้ว่า “การให้อภัยไม่มีข้อยกเว้นใด ๆ”4 ข้าพเจ้าเรียนรู้อีกด้วยว่า ด้วยพลังอำานาจของพระผู้เป็นเจ้า เราสามารถให้อภัยทุกคนได้แม้กระทั่งตัวเราเอง5

พระคริสต์ทรงเป็นแบบอย่างสูงสุดของเรา ระหว่างที่ทรงปฏิบัติศาสนกิจในความเป็นมรรตัยของพระองค์ พระองค์ทรงอรรถาธิบายหลักธรรมพระกิตติคุณข้อนี้เสมอทั้งโดยพระดำารัสและสิ่งที่พระองค์ทรงกระทำ แม้เมื่อทรงอยู่บนกางเขนพระองค์ตรัสว่า “พระบิดาเจ้าข้า ขอทรงยกโทษพวกเขาเพราะเขาไม่รู้ว่ากำลังทำอะไร”6 ข้าพเจ้าเป็นพยานว่าพระผู้เป็นเจ้าทรงรักเรามากจนทรงส่งพระบุตรผู้เป็นที่รักของพระองค์มาชดใช้บาปของเราเพื่อสนองข้อเรียกร้องแห่งความยุติธรรม พระองค์ทรงต้องการให้เราดำเนินชีวิตด้วยสันติสุขภายใน พระองค์ไม่ทรงต้องการให้มี “พิษ” ใด ๆ หลงเหลืออยู่ในใจเรา ข้าพเจ้าเชื่ออย่างมั่นคงว่าโดยผ่านปาฏิหาริย์แห่งการให้อภัย เราจะเป็นสานุศิษย์ที่แท้จริงของพระคริสต์ได้ เหมือนดังที่ศาสดาพยากรณ์โจเซฟ สมิธกล่าวไว้ก่อนท่านจะจากไปคุกคาร์เทจว่า “ข้าพเจ้าสงบดังเวลาเช้าของฤดูร้อน; ข้าพเจ้ามีมโนธรรมอันปราศจากความผิดต่อพระผู้เป็นเจ้า, และต่อมนุษย์ทั้งปวง.”7

พี่น้องทั้งหลาย หากใครในพวกท่านกำาลังมีความยากลำบากในการให้อภัยผู้อื่น โปรดจำสิ่งที่เอ็ลเดอรเบดนาร์สอนว่า “พลังช่วยเหลืออันเนื่องจากการชดใช้ของพระคริสต์ [สามารถ] เสริมสร้างเราให้ทำสิ่งที่เราไม่สามารถทำได้ด้วยตนเอง”8 ข้าพเจ้าทราบว่าหลักธรรมที่แท้จริงนี้มาจากพระผู้เป็นเจ้า เราทุกคนทำได้! ■